PDPA คืออะไรใครงงมาตรงนี้

วันที่ 15 ส.ค. 2565

PDPA คืออะไรใครงงมาตรงนี้

PDPA คืออะไรใครงงมาตรงนี้

         “PDPA” ย่อมาจาก “Personal Data Protection Act” หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ที่มีขึ้นเพื่อให้ภาคเอกชน และภาครัฐที่เก็บรวบรวมใช้ เปิดเผย และ/หรือ โอน “ข้อมูลส่วนบุคคล” ในไทย ให้เป็นไปตามมาตรการปกป้องข้อมูลของผู้อื่นจากการถูกละเมิดสิทธิส่วนตัว โดยต้องขอความยินยอมจาก “เจ้าของข้อมูล” ก่อนการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย โดยข้อมูลส่วนบุคคล ณ ที่นี้ หมายถึงข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้ระบุตัวบุคคลได้ ทั้งทางตรง และทางอ้อม เช่น…

– เลขประจำตัวประชาชน ชื่อ-นามสกุล
– ที่อยู่
– เบอร์โทรศัพท์
– อีเมล
– ข้อมูลทางการเงิน
– เชื้อชาติ
– ศาสนาหรือปรัชญา
– พฤติกรรมทางเพศ
– ประวัติอาชญากรรม
– ข้อมูลสุขภาพ

         จากการเผยแพร่ข้อมูลของกฎหมาย PDPA ให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ และจะมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนก็จะโดนบทลงโทษทั้งทางแพ่ง ทางปกครอง และทางอาญาตามข้อกำหนดแต่ละข้อแตกต่างกันไป ซึ่งข้อกำหนดบางข้อก็เป็นที่ถกเถียงว่าจะสามารถทำได้จริงไหม มีความเข้าใจหลายๆอย่างที่ยังไม่ชัดเจน เราเลยนำคำถามเหล่านั้นมาตอบให้ทุกท่านได้ทราบกัน….

1.การถ่ายรูป – ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA?
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตอบชัดว่า กรณีการถ่ายรูป – ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป – ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว
.
2.ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA?
ข้อนี้ก็สร้างความสับสนแก่ชาวโซเชียลทั้งหลาย ซึ่งตามหลักการของกฎหมายแล้ว สามารถโพสต์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้า และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
.
3.ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA?
การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือนหากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน
.
4.เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำ ข้อมูลส่วนบุคคล ไปใช้ไหม?
ข้อนี้ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว
(1) เป็นการทำตามสัญญา
(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิต และ/หรือ ร่างกายของบุคคล
(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง
ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆ ไป
.
5.ไปร่วมงานอีเวนต์ แล้วโดนถ่ายภาพ ถือว่าละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลไหม?
เมื่อมีการจัดงานอีเวนต์ หรือกิจกรรมที่มีคนจำนวนมาก การถ่ายภาพแล้วติดบุคคลโดยไม่ได้ขออนุญาตอาจจะไม่เข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่ทางผู้จัดงานต้องมีเอกสาร หรือข้อความ privacy policy หรือ privacy notice หรือนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อแจ้งแก่ผู้ร่วมงานว่าในงานมีการถ่ายรูป หรือบันทึกภาพ ถ้าใครไม่สะดวกอาจจะจัดพื้นที่ไม่มีการบันทึกภาพให้แก่คนร่วมงาน

         ข้อควรระวังกฎหมาย PDPA คือ การถ่ายภาพ หรือเปิดเผยข้อมูลผู้อื่นสู่สาธารณชน และไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของถือว่ามีความผิด หากเราต้องการถ่ายเป็นหลักฐานหรือเพื่อเก็บไว้สำหรับแจ้งความเอาผิด สามารถทำได้ แต่เราต้องใช้ข้อมูลส่วนนั้นสำหรับแจ้งความแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น ถ้ามีการนำข้อมูลมาเปิดเผยเพื่อให้ผู้อื่นเสียหาย เจตนาของการกระทำนี้สามารถเอาผิดได้ ในกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA นั้นเอง

         ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างเรานั่นเอง โดย PDPA จะให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ข้อมูลพื้อฐานอย่าง..ชื่อ อายุ ศาสนา และรวมไปถึง การศึกษา สถานที่ทำงาน ฐานะการเงิน และอื่นๆ หรือแม้กระทั่งการถ่ายภาพและวีดิโอ เพื่อประโยชน์ของตัวเราหากเราไม่ยินยอมนั่นเองค่ะ

         อย่างไรก็ตามหากเพื่อนๆสนใจเรื่องของ PDPA หรือต้องการมอบความรู้เรื่องเหล่านี้ให้กับบริษัทของเพื่อนๆ เพื่อนๆสามารถติดต่อสอบถาม FB: GeniusSoft Thailand ได้เลย เพราะเรามีบริการ IT Training และบริการทางด้านจัดการข้อมูล หากลูกค้าสนใจอยากปรึกษา พัฒนาธุรกิจของท่านให้พร้อม… สามารถติดต่อเรา GeniusSoft Thailand ได้ทุกช่องทางค่ะ #MakeItBeGenius ✨

Contact Us

We’ll answer your questions and help with your organization’s needs.

Contact Us

Mr. Prasit P. (Business Development Executive)
Email : prasit.p@geniussoft.co.th
Mobile : 086-398-9029

Contact

+66(0) 2 004 9355

+66(0) 2 064 7433

info@geniussoft.co.th

Location

88 Paso Tower, 15th  floor, unit B2, Silom Road, Suriyawong, Bangrak, Bangkok, Thailand 10500