ทวงหนี้สินพนักงาน….เกี่ยวอะไรกับ HR ?

วันที่ 1 ก.พ. 2564

ทวงหนี้สินพนักงาน….เกี่ยวอะไรกับ HR ???

ทวงหนี้สินพนักงาน….เกี่ยวอะไรกับ HR ???

          IT Outsourcing คืออะไร

          เชื่อว่าหลายคนคง งง ว่าหนี้สินของพนักงาน เกี่ยวข้องอะไรกับ HR เพราะด้วยเมื่อมีการทวงหนี้พนักงานภายในบริษัท บริษัททวงหนี้จะต้องติดต่อหา HR ก่อน และ HR จำเป็นต้องรับเรื่องแทนและส่งต่อพนักงานเสมอ ด้วยปัญหาส่วนตัวที่เกิดขึ้นพนักงานอาจจะนิ่งเฉยต่อการทวงหนี้นั้น

          วันนี้ เลยอยากจะมาพูดถึงการจัดการทั้ง ความรู้สึกของพนักงาน กฎหมายที่สามารถทวงหนี้ได้ และสิ่งที่ HR ควรจะต้องทำมาบอกเล่าค่ะ

          ก่อนอื่นขอไปที่ กฎหมายการทวงหนี้ที่บุกถึงบริษัท ก่อนนะคะ กฎหมายระบุไว้ว่า การที่เจ้าหนี้มาโวยวายทวงถามให้อับอายที่บริษัท เจ้าหนี้อาจจะต้องระวังความผิดตามมาตรา 11 อนุ 3 พ.ร.บ.ทวงหนี้ 2558 ที่กำหนดไว้ว่า “การเปิดเผยข้อมูลของลูกหนี้หรือการเปิดเผยการเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องทราบนั้นมีความผิด” ระวังโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้นอาจจะมีคำถามที่ว่า…. ถ้าเป็นเจ้าหนี้แม้มีสัญญาแต่ยังไม่ได้ฟ้องร้อง จะสามารถเดิน บุกเข้ามาขอให้บริษัท หรือ HR จัดการหักเงินพนักงานเลยได้ไหม ?  คำตอบคือ HR ของบริษัทไม่สามารถหักให้ได้ ลูกหนี้ ที่เป็นพนักงานของบริษัทเรา ต้องประสบปัญหาต่าง ๆ จึงไม่สามารถชำระหนี้ตามที่นัดไว้ได้ และก่อให้เกิดการทวงถามหนี้ ทั้งโทรเข้าบริษัท หรือ เจ้าหนี้บางรายบุกถึงบริษัทลูกหนี้เลยทีเดียว ซึ่งลูกหนี้จะทราบได้อย่างไรว่าเราอยู่ในสถานะที่โดนฟ้องหรือจะโดนอายัดทรัพย์แล้วหรือยัง สามารถดูขั้นตอนปฏิบัติดังนี้ค่ะ

          1. ศาลมีคำพิพากษาและได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลยแล้ว
          2. จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ
          3. โจทก์จะต้องดำเนินการออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของจำเลย
          4. เมื่อหมายบังคับคดีถูกส่งไปยังกรมบังคับคดี โจทก์มีหน้าที่จะต้องไปตั้งเรื่องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อยึดอายัดทรัพย์ของลูกหนี้ ส่งเรื่องต่อให้บริษัทบังคับคดี

          เรื่องสุดท้ายที่ถือเป็นปัญหาส่วนหนึ่งของ HR บริษัทเลยก็ว่าได้ คือ ความรู้สึกของพนักงาน ที่มีผลกระทบต่อบริษัท พนักงานคนหนึ่งเคยทำงานดี รับผิดชอบงานได้ดีเยี่ยม วันหนึ่งการทำงานดูเปลี่ยนไป ดูหวาดระแวง กังวล ดูร้อนร้น นั้นอาจจะเกิดจากพนักงานผู้นั้นเกิดปัญหาเป็นหนี้ที่ไม่สามารถชำระได้ และจะทำให้พนักงานผู้เป็นหนี้ไม่มีกระจิตกระใจทำงาน ผลงานที่ได้ก็ออกมาอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร ถูกเจ้านายตำหนิ โดยตามหนี้สิน จนถึงขั้นลาออกหนี้เจ้าหนี้เลยก็เป็นได้ ทำให้บริษัทสูญเสียบุคลลากรที่มีคุณภาพ หรือในบางรายเจ้าหนี้มาดักพนักงานหน้าบริษัท ทำให้พนักงานไม่มีสมาธิ หวาดกลัว ไม่เป็นอันทำงานกัน แล้วจะให้เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับ HR ได้อย่างไร….
ยังคงมีข้อสงสัยว่า หากรู้ว่าพนักงานมีหนี้สิน มีหมายบังคับคดี เลิกจ้างได้หรือไม่ คำตอบคือ “ไม่ถือว่าเป็นความผิด เลิกจ้างไม่ได้ เพราะไม่ได้กระทำผิดระเบียบบริษัทค่ะ” แต่ถ้าพนักงานมีประสิทธิภาพการทำงานลดน้อยลง ทำงานผิดพลาด สามารถลงโทษได้ตามความผิดกรณีนั้นๆ อีกกรณี หากพนักงานทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเงินหรือทรัพย์สินบริษัทอาจต้องปรับเปลี่ยนหน้าที่รับผิดชอบตามความเหมาะสม (ภายใต้กฎหมายกำหนด)

          ต้องทำอย่างไรถึงแก้ปัญหานี้ได้ คงต้องทำความเข้าใจบางคนเป็นหนี้มาจากเหตุจำเป็น บางคนเป็นหนี้จากความไม่รู้ ความผิดพลาด แต่เป็นหนี้ก็ต้องใช้หนี้ตามกฎหมาย คงต้องเข้าคุยกับพนักงานและหาทางออก เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ของพนักงานและคนดูแลอย่าง HR การดำเนินการหักเงินเดือนพนักงาน เพื่อชำระหนี้ตามหมายบังคับคดี ต้องดู 3 กรณี
          กรณีที่ 1 พนักงานพ้นสภาพลาออกไปแล้ว HR ออกหนังสือชี้แจงต่อกรมบังคับคดี ค่ะ

          กรณีที่ 2 พนักงานเงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาท ไม่สามารหักเงินเดือนตามการบังคับคดีได้ HR ออกหนังสือชี้แจงต่อกรมบังคับคดี เช่นเดียวกัน หมายเหตุ หากพนักงานมีเงินโบนัสจะต้องถูกหักคิดเป็น 50% ของโบนัสที่พนักงานจะได้รับ หากพนักงานมีค่าล่วงเวลา, เบี้ยขยัน, ค่าคอมมิชชั่น หรือเงินตอบแทนอื่นๆ จะถูกหัก 30% ของเงินที่จะได้รับ

          กรณีที่ 3 พนักงานเงินเดือนเกิน 20,000 บาท หนังสืออายัดจากบังคับคดีจะใช้คำว่า “อายัดเงินเดือนโดยเหลือให้ลูกหนี้เดือนละ 20,000 บาท หมายความว่า หากพนักงานมีเงินเดือน 50,000 บาท จะต้องถูกหักไป 30,000 บาท และเหลือให้ใช้ 20,000 บาท (เนื่องจากกฎหมายกำหนดเพียงเงินเดือนไม่เกิน 20,000 บาท ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี แต่ไม่ได้บอกว่าถ้าเงินเดือนเกิน 20,000 บาท จะหักอย่างไรเท่าไหร่) ควรแนะนำให้พนักงานผู้เป็นหนี้เจรจาต่อรองกับเจ้าหน้าที่บังคับคดี เพื่อขอลดเงินอายัดอย่างด่วนนับแต่วันได้รับหนังสือ

          ทั้งนี้ ทางฝ่ายนายจ้างหรือ HR (ถือเป็นตัวแทนนายจ้าง) จะต้องช่วยดำเนินการหักเงินเดือนพนักงานไปจนกว่าจะครบหนี้และมีหมายถอนอายัดมาจากทางกรมบังคับคดีจึงถือเป็นที่สิ้นสุด หากท่านสนใจระบบทวงหนี้ ติดต่อ สอบถามกับ GeniusSoft ติดต่อ 02-064-7433 เราเป็นตัวแทนจำหน่าย Debt Collection Management System : Volare System สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยค่ะ

About
Our Partners
Global Team
Our Locations
Case Studies
Careers
Find a Job
Benfits & Welfare
Career Advice

Services

IT Consultant Service
IT Recruiting Service
IT Professional Service
IT System Integratorservice
IT Software Testing Service
IT Training Service
IT Software Solutions & Development