เด็กรุ่นใหม่ กับ อาชีพ Programmer
วันที่ 18 ม.ค. 2565
คณะที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถทำให้น้องๆเติบโตมาทำงานได้ในหลายสายอาชีพเลยทีเดียวค่ะ โปรแกรมเมอร์ก็เป็นอีก 1 สายอาชีพที่เด็กๆสายคอมชื่นชอบและใฝ่ฝันที่จะเป็นเหมือนกันค่ะ งั้นเรามาดูกันค่ะว่าอาชีพโปรแกรมเมอร์นั้นมีหน้าที่อะไรบ้างแล้วนักโปรแกรมเมอร์ที่ดีนั้นเป็นอย่างไร
โปรแกรมเมอร์ คือ นักเขียนโปรแกรมหรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งโปรแกรมเมอร์จะมีหน้าที่หลักๆก็คือการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยจำเป็นต้องใช้ภาษาคอมพิวเตอร์มาเขียนออกคำสั่ง เพื่อสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ
ลักษณะงานของนักโปรแกรมเมอร์
- โปรแกรมเมอร์จะนำข้อมูลการออกแบบรายละเอียดการวางโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์จากนักวิเคราะห์ระบบงาน มาเขียนเป็นโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งจะมีภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะแตกต่างกันไป อย่างเช่นภาษา JAVA , JavaScript, PHP, C#, Python และอื่นๆอีกมากมาย
- พอเขียนโปรแกรมแล้วหลังจากนั้นก็ทำการทดสอบระบบและส่งให้นักวิเคราะห์ระบบ หรือ Tester ทำการตรวจสอบอีกครั้งเพื่อหากจุดบกพร่องและแก้ไขก่อนนำไปใช้จริง
- System Programmer หลายๆคนมักมองว่านักโปรแกรมเมอร์คือคนที่คอยเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สำหรับ System Programmer นักโปรแกรมเมอร์เหล่านี้จะเชี่ยวชาญในเรื่องระบบปฏิบัติการต่างๆ (OS: Operating System) ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาและจัดการกับโปรแกรมในระบบคอมพิวเตอร์รวมถึงเรื่องของฮาร์ดแวร์ด้วยค่ะ
- Application Programmer คือเป็นผู้พัฒนาหรือเขียนโปรแกรมประยุกต์เฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมด้านบัญชีที่ทำขึ้นเพื่อจัดระเบียบและพัฒนาบริษัทนั้นๆ
- Web Programmer ก็คือนักเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆมากมาย เช่น Python, PHP, Java ที่จะทำงานร่วมกับ Web Developer และ Web Designer ซึ่งจะทำให้การออกแบบเว็บไซต์ได้ตรงความต้องการ
- Programmer
- Senior Programmer
- Application Developer
- ios Developer
- Android Developer
- Java Developer เน้นภาษาจาวา
- Front-end Developer
- Test Engineer
- E-Commerce Developer
- VB Developer
- PHP Programmer เน้นภาษาพีเฮสพี
- Software Tester
- Software Engineer
- Project Manager
- มีทัศนคติเชิงบวก ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม หากเพื่อนๆน้องๆต้องการเป็นนักโปรแกรมเมอร์ที่ดีนั้น จะต้องมีทัศนคติที่ดีเพื่อที่จะก้าวข้ามไปยังจุดมุ่งหมายให้ได้ นักโปรแกรมเมอร์ที่ดีจะใส่ใจวิธีการทำงานของซอฟต์แวร์ และพร้อมที่จะพัฒนาโปรแกรมอยู่เสมอเพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ใช้งานและเพื่อที่จะนำพาบริษัทไปสู่ความสำเร็จ ส่วนนักโปรแกรมเมอร์ที่ไม่ดีทมีความคิดและทัศนคติเชิงลบ โปรแกรมเมอร์เหล่านั้นจะใส่ใจแค่ตัวของเขาเอง และไม่ได้สนใจที่จะทำให้บริษัทนั้นประสบความสำเร็จ
- มีความสามารถในการสื่อสารที่ดี ถ้าหากเพื่อนๆน้องๆมีความสามารถทางด้านนี้ล่ะก็จะทำงานได้อย่างราบรื่นเพราะหากทำงานในองค์กรใหญ่ๆและเพื่อนร่วมงานที่ทำงานกันเป็นทีมใหญ่ๆนั้น สำคัญมากที่จะใช้ทักษะการสื่อสารที่ดีเพื่อสื่อสารกับทีมและเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้ได้งานที่ productive
- มีการจัดการและแก้ปัญหาอย่างดี นักโปรแกรมเมอร์มักจะพบเจอกับปัญหาที่ไม่คาดคิดอย่างสม่ำเสมอเมื่อกำลังจะพัฒนาแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์อะไรก็ตาม นักโปรแกรมเมอร์ที่ดีสามารถเขียนโค้ดได้อย่าง real time เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด
- คอยเรียนรู้และรับสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ นักโปรแกรมเมอร์ที่ดีต้องรับข้อมูลข่าวสารใหม่ๆอยู่เสมอ และต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารใหม่เช่นกัน เทคโนโลยีสมัยนี้ปรับเปลี่ยนและมีอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นเสมอ บางสิ่งบางอย่างของปีเก่าๆก็เป็นสิ่งที่เลิกใช้แล้วก็มี ดังนั้นถ้าหากเพื่อนๆน้องๆอยากเป็นนักโปรแกรมเมอร์ที่ดีจะต้องคอยฝึกและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เสมอด้วยนะคะ
- เขียนโค้ดที่อ่านง่าย: โปรแกรมเมอร์ที่ดีไม่เพียงแต่เขียนโค้ดที่ใช้งานได้จริง แต่ยังเขียนโค้ดที่สามารถปรับขนาดได้ อ่านได้ บำรุงรักษาได้ และเข้าใจได้ แม้ว่าบางครั้งหากทำงานอยู่ในสภาวะเร่งรีบ เมื่อมีเวลาว่างก็สามารถมานั่งแก้และปรับโครงสร้างโค้ดใหม่เพื่อให้แน่ใจว่าโค้ดที่เขียนไปนั้น เรียบร้อย อ่านง่าย และสามารถดูแลแก้ไขได้อย่างง่ายดาย
- ต้องรู้จักใช้แป้นพิมพ์ลัด (Keyboard Shortcut) โปรแกรมเมอร์ที่ดีต้องรู้จักใช้แป้นพิมพ์ลัดจำนวนมากเพื่อช่วยให้ทำงานได้ง่ายมากขึ้น
- ใช้เครื่องมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โปรแกรมเมอร์ที่ดีมักจะใช้เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเพื่อเร่งกระบวนการพัฒนาที่สามารถทำได้โดยอัตโนมัติ เช่น ใช้ตัวแก้ไขโค้ดที่ดีซึ่งสนับสนุนคุณลักษณะหลายอย่างและการตั้งค่าต่างๆสำหรับworkflow
- มีทักษะการดีบัก ทักษะการดีบักที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ (debugging skills) โปรแกรมเมอร์ที่ดีคือคนที่สามารถจัดการกับความล้มเหลว ค้นพบข้อผิดพลาด ข้อบกพร่อง และสิ่งที่เป็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้อาชีพโปรแกรมเมอร์ถือเป็นอาชีพที่ต้องการสูงของตลาดแรงงานทั้งไทยและต่างประเทศ เพราะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและดิจิทัลมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมกลุ่มอาชีพนี้ หรือคณะที่เกี่ยวกับไอที จะกลายเป็นอาชีพที่เด็กยุคใหม่ให้ความสนใจ
หากเพื่อนๆน้องๆคนไหนที่สนใจอยากจะมาเป็นนักโปรแกรมเมอร์หรืออยากทำงานด้านสายไอที ก็สามารถสมัครเข้ามาหรือทักมาสอบถามเพิ่มเติมได้เลยที่ GeniusSoft Thailand ค่ะ
#เทรนด์ #เด็กรุ่นใหม่ #โปรแกรมเมอร์ #อาชีพ #Java #C #JavaScript #Python #GeniusSoft #MakeItGenius #Update