แบงก์ชาติ ขยายเวลาช่วยลูกหนี้ปี 2564

วันที่ 13 พ.ค. 2564

แบงก์ชาติ ขยายเวลาช่วยลูกหนี้ปี 2564

แบงก์ชาติ ขยายเวลาช่วยลูกหนี้ปี 2564

          สถานการณ์ โควิด-19 ในปัจจุบันเชื่อได้เลยว่า เกือบทุกคนได้รับผลกระทบ และผลกระทบส่วนใหญ่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คงจะเป็นเรื่องการเงิน ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ขยายเวลามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ จากเดิม 31 ธ.ค. 2563 ลูกหนี้สามารถยื่นขอรับความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการทางการเงินได้ถึงวันที่ 30 มิ.ย. 64 ทั้งนี้มาตรการการที่ใช้ สามารถช่วยเหลือทุกรูปแบบหนี้ไม่ว่าจะเป็น  ลูกหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อเช่าซื้อ รายละเอียดมีอะไรบ้างไปดูกันได้เลยคะ….

          1.บัตรเครดิต

– เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด หรือขยายเวลาชำระหนี้ ดอกเบี้ยไม่เกิน 12% (พิจารณาให้ใช้วงเงินที่เหลือตามความสามารถในการชำระหนี้)

          2.สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีวงเงินหมุนเวียน เช่น บัตรกดเงินสด

– ลดอัตราผ่อนขั้นต่ำ ตามความสามารถในการชำระหนี้ หรือ
– เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด หรือขยายเวลาชำระหนี้
ดอกเบี้ยไม่เกิน 22% (พิจารณาให้ใช้วงเงินที่เหลือตามความสามารถในการชำระหนี้)

         3.สินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนชำระเป็นงวด และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ

– ลดค่างวดอย่างน้อย 30% โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22%

          4.สินเชื่อเช่าซื้อ

– ไม่จำกัดวงเงิน (เดิมมอเตอร์ไซค์ไม่เกิน 35,000 บาท รถยนต์ทุกประเภท ไม่เกิน 200,000 บาท)
– เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือ
– ลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้

          5.สินเชื่อบ้าน

– ไม่จำกัดวงเงิน (เดิมไม่เกิน 3 ล้านบาท)
– เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือ
– เลื่อนชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ตามความเหมาะสม หรือ
– ลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้

          สามารถสมัครขอรับความช่วยเหลือทางการเงินต่อไปได้อีกจนถึง 30 มิถุนายน 2564 (จากเดิมที่ครบกำหนดเมื่อ 31 ธันวาคม 2563) นอกจากนี้ยังเพิ่มความสะดวกในการรับความช่วยเหลือ โดยให้นายจ้างหรือเจ้าของกิจการ สามารถยื่นสมัครขอรับความช่วยเหลือแทนพนักงานหรือลูกจ้างได้ (พนักงานหรือลูกจ้างที่เป็นลูกหนี้ต้องยินยอม) สมัครขอรับความช่วยเหลือหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center และ Mobile Application ของผู้ให้บริการทางการเงินแต่ละแห่ง, ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 1213 , ทางด่วนแก้หนี้ และคลินิกแก้หนี้

          มาตรการการช่วยเหลือแต่ละธนาคาร

          ธนาคารออมสิน

ธนาคารออมสิน ออกมาตรการ “สินเชื่อสู้ภัย COVID-19” วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากการขาดรายได้จากมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มข้นขึ้น โดยผู้มีสิทธิ์ขอสินเชื่อนี้ ได้แก่

  1. ผู้ประกอบอาชีพอิสระ, ผู้ประกอบการรายย่อย, ผู้มีรายได้ประจำของหน่วยงานเอกชนที่ได้รับผลกระทบกระทบจาก COVID-19 (ไม่รวมผู้มีรายได้ประจำจากภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ)
  2. มีสัญชาติไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป

สำหรับวงเงินสินเชื่อกำหนดให้รายละไม่เกิน 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกันการกู้ ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก สำหรับในระยะแรกของโครงการ ทางธนาคารออมสินจะเริ่มให้บริการแก่ลูกค้าธนาคารที่เปิดใช้แอป MyMo อยู่แล้วก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 9 ล้านคน โดยเริ่มจากลูกค้าที่ได้รับผลกระทบที่อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม 6 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี ชลบุรี สมุทรปราการ และเชียงใหม่ สามารถยื่นกู้ได้ทางแอป MyMo ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป หลังจากนั้นในระยะต่อไปจึงขยายให้บริการลูกค้าในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป ตามด้วยลูกค้ากลุ่มอื่นที่ไม่มีแอป MyMo กำหนดสิ้นสุดระยะเวลาโครงการวันที่ 31 ธันวาคม 2564 หรือจนกว่าจะครบจำนวนวงเงินโครงการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center โทร. 1115 และที่ Facebook: GSB Society

 

          ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 ระลอกใหม่ ผ่าน “โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ ปี 2564” ด้วย 2 มาตรการช่วยเหลือ ประกอบด้วย
– มาตรการที่ 13: พักชำระเงินต้น และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน ระยะแรกเป็นเวลา 3 เดือน (1 พฤษภาคม-31 กรกฎาคม 2564) สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ (ไม่เป็น NPL ไม่อยู่ขั้นตอนของกฎหมาย และไม่อยู่ระหว่างทำข้อตกลงประนอมหนี้) ครอบคลุมทั้งลูกค้าที่ไม่เคย หรือเคยใช้ หรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการความช่วยเหลือเดิมของธนาคาร โดยต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 รวมถึงยังไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ตามสัญญาเงินกู้
– มาตรการที่ 14: พักชำระเงินต้นและจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน พร้อมลดดอกเบี้ยลงเหลือ 3.90% ต่อปี ระยะแรกเป็นเวลา 3 เดือน (1 พฤษภาคม-31 กรกฎาคม 2564) สำหรับลูกหนี้ที่สถานะ NPL และลูกหนี้ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะพ้นสิทธิการปรับโครงสร้างหนี้ที่ใช้อยู่หากใช้มาตรการที่ 14 โดยต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ หรือทำธุรกิจ หรือการค้า เนื่องจาก COVID-19 และไม่สามารถผ่อนชำระเงินงวดให้ธนาคารได้ตามสัญญาเงินกู้หรือข้อตกลงปรับโครงสร้างหนี้หรือตามคำพิพากษา

เปิดให้ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่านแอปพลิเคชัน GHB ALL ระหว่างวันที่ 11-29 พฤษภาคม 2564 โดยสามารถอัปโหลดหลักฐานยืนยันว่าได้รับผลกระทบทางรายได้ผ่านทางแอปพลิเคชันให้ธนาคารพิจารณา เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ภาพถ่าย หรือ Statement เป็นต้น
กรณีไม่มีสมาร์ทโฟน สามารถกรอกข้อมูลเพื่อแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือตามมาตรการได้ที่เว็บไซต์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยมีรายละเอียดของมาตรการ ประกอบด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center โทร. 0-2645-9000 หรือ Facebook: ธนาคารอาคารสงเคราะห์

 

          ธนาคารกรุงเทพ

  1. บัตรเครดิต

– ปรับลดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำมาอยู่ที่ 5% (จากเดิม 10%) จนถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท และทุกรายได้รับสิทธิ์อัตโนมัติ โดยไม่ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ์
– ปรับลดเพดานดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 16% ต่อปี (จากเดิม 18% ต่อปี) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท และทุกรายได้รับสิทธิ์อัตโนมัติ โดยไม่ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ์
– ขยายวงเงินให้แก่ลูกค้าที่มีความจำเป็นและมีประวัติการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับลูกค้าที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท จาก 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันนี้-31 ธันวาคม 2564 (เข้าร่วมโครงการ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2638-4000

  1. สินเชื่อเงินกู้ที่ผ่อนชำระเป็นงวด (Installment Loan)

– ลดค่างวดอย่างน้อย 30% โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี

  1. สินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออเนกประสงค์ที่ใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน

– เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือ
– เลื่อนชำระเงินต้น (จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ลูกค้าแต่ละรายตามความเหมาะสม หรือ
– ลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้

 

          ธนาคารกสิกรไทย

มาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย ภายใต้โครงการ #รวมใจไม่ทิ้งกัน
ประเภทที่ 1 มาตรการช่วยเหลือที่ไม่ต้องลงทะเบียน (ลดอัตราดอกเบี้ยให้อัตโนมัติ โดยไม่ต้องติดต่อธนาคาร)

  1. บัตรเครดิตกสิกรไทย ลดอัตราดอกเบี้ยจาก 18% เป็น 16%
  2. บัตรเงินด่วน ลดอัตราดอกเบี้ยจาก 28% เป็น 25%
  3. สินเชื่อเงินด่วน ลดอัตราดอกเบี้ยจาก 28% เป็น 25%
  4. สินเชื่อรถ (สินเชื่อรถช่วยได้ ประเภทจำนำทะเบียนรถ) ลดอัตราดอกเบี้ยจาก 28% เป็น 24%

ประเภทที่ 2 มาตรการช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียน

  1. บัตรเครดิตสกิกรไทย

– ทางเลือกที่ 1 พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 รอบบัญชีนับจากเดือนที่ลงทะเบียน
– ทางเลือกที่ 2 เปลี่ยนยอดคงค้าง เป็นผ่อนชำระ 48 งวด ดอกเบี้ยพิเศษ 12% ต่อปี

  1. บัตรเงินด่วน

– ทางเลือกที่ 1 พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 รอบบัญชีนับจากเดือนที่ลงทะเบียน
– ทางเลือกที่ 2 เปลี่ยนยอดคงค้าง เป็นผ่อนชำระ 48 งวด ดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี

  1. สินเชื่อเงินด่วน

– ทางเลือกที่ 1 พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 รอบบัญชีนับจากเดือนที่ลงทะเบียน
– ทางเลือกที่ 2 ลดค่างวด 30% ของค่างวดเดิม เป็นเวลา 6 รอบบัญชี ดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี

  1. สินเชื่อบ้านกสิกรไทย

– ทางเลือกที่ 1 จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย และลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.1% เป็นเวลา 3 เดือน
– ทางเลือกที่ 2 ลดค่างวด 50% ของค่างวดเดิม เป็นเวลา 3 เดือน
– ทางเลือกที่ 3 พักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย เป็นเวลา 3 เดือน

 

          ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

มาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ระยะที่ 2

  1. สินเชื่อบ้าน และสินเชื่อส่วนบุคคล

– พักชำระหนี้เงินต้น สูงสุดไม่เกิน 3 เดือน
– พักชำระหนี้เงินผ่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) สูงสุดไม่เกิน 3 เดือน
– ปรับลดค่างวดผ่อนชำระ (Installment) อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 30% ของค่างวดเดิม (สินเชื่อส่วนบุคคล)
– เปลี่ยนจากวงเงินหมุนเวียน (Revolving) เป็นผ่อนชำระค่างวด สูงสุดไม่เกิน 48 เดือน (สินเชื่อส่วนบุคคล)

  1. ลูกค้าบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลในเครือกรุงศรี คอนซูมเมอร์

มาตรการที่ 1 ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ โดยไม่ต้องลงทะเบียน หรือโทรแจ้งความจำนงกับบริษัท
– บัตรเครดิต ปรับจาก 10% เป็น 5%
– สินเชื่อส่วนบุคคล ปรับจาก 5% เป็น 3%

มาตรการที่ 2 ปรับลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษและขยายเวลาผ่อนชำระ สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ (โดยต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านโมบายแอป UCHOOSE เท่านั้น)
– บัตรเครดิต อัตราดอกเบี้ยพิเศษ พร้อมลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายเวลาผ่อนชำระให้นานสูงสุด 99 เดือน (ขึ้นอยู่กับยอดคงค้าง)
– สินเชื่อบุคคล อัตราดอกเบี้ยพิเศษ พร้อมลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายเวลาผ่อนชำระให้นานสูงสุด 99 เดือน (ขึ้นอยู่กับยอดคงค้าง)

มาตรการที่ 3 ปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือนด้วยการขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระนานสูงสุด 99 เดือน (ปรับโครงสร้างหนี้) พร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต และผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล สำหรับลูกค้าที่มียอดค้างชำระ โดยลูกค้าสามารถแจ้งความจำนง หรือติดต่อมายังบริษัท และจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี

  1. ลูกค้าสินเชื่อยานยนต์ กรุงศรี ออโต้

– ลดค่างวดผ่อนชำระสูงสุด 30% ของค่างวดเดิม หรือ
– พักชำระค่างวด สูงสุด 3 เดือน
หมายเหตุ: เฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ในพื้นที่ที่รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด
– สินเชื่อเช่าซื้อ พักชำระ ค่างวดทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย
– สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ พักชำระ เฉพาะเงินต้น

 

          ธนาคารยูโอบี

  1. บัตรเครดิต

ปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำจากเดิม 10% เป็นดังนี้
– ปี 2563-2563 ชำระขั้นต่ำ 5%
– ปี 2565 ชำระขั้นต่ำ 8%
– ปี 2566 ชำระขั้นต่ำ 10% ตามเดิม
*ธนาคารปรับอัตโนมัติ โดยลูกค้าไม่ต้องติดต่อธนาคาร

  1. บัตรกดเงินสดแคชพลัส

ปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำจากเดิม 5% เป็นดังนี้
– ปี 2563-2565 ชำระขั้นต่ำ 2.5%
– ปี 2566 ชำระขั้นต่ำ 5% ตามเดิม
*ธนาคารปรับอัตโนมัติ โดยลูกค้าไม่ต้องติดต่อธนาคาร

  1. บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสดแคชพลัส

– พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 รอบบัญชี
– เปลี่ยนยอดหนี้คงค้างเป็นยอดผ่อนชำระรายเดือนสูงสุด 48 รอบบัญชี

  1. สินเชื่อส่วนบุคคล i-Cash

– พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 รอบบัญชี

  1. สินเชื่อบ้าน

– พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 รอบบัญชี
– พักชำระเงินต้น โดยชำระเฉพาะดอกเบี้ย 12 รอบบัญชี

 

          ธนาคารทิสโก้

  1. สินเชื่อเงินกู้ ประเภทจำนำทะเบียนรถ

– ลดค่างวด 30% ของค่างวดเดิม โดยขยายเวลาการผ่อนชำระ และอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี

  1. สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์

– พักชำระค่างวด 3 งวด หรือ
– ปรับลดค่างวด โดยขยายเวลาการผ่อนชำระ

  1. สินเชื่อที่อยู่อาศัย

– เลื่อนจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 3 เดือน หรือ
– เลื่อนการจ่ายเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยตามความเหมาะสม หรือ
– ลดค่างวดโดยขยายเวลาชำระหนี้

โดยต้องเป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และ ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563 มีสินเชื่อกับธนาคารและไม่ค้างชำระ/ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยไม่เกินกว่า 90 วัน

 

          ธนาคารไอซีบีซี (ไทย)

สำหรับลูกค้าธุรกิจและลูกค้าบุคคลธรรมดา ลูกค้าธุรกิจวงเงินกลุ่มไม่เกิน 100 ล้านบาท และลูกค้าธุรกิจวงเงินกลุ่มไม่เกิน 500 ล้านบาท

  1. ผู้ถือบัตรเครดิต

– ปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำจาก 10% เป็น 5% สำหรับลูกค้าบัตรเครดิตทุกท่านอัตโนมัติโดยไม่ต้องแจ้งความประสงค์ ตั้งแต่วันนี้-31 ธันวาคม 2564
– ปรับลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตทุกประเภท จาก 18% เป็น 16% สำหรับลูกค้าบัตรเครดิตทุกท่าน อัตโนมัติ โดยไม่ต้องติดต่อธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป

  1. ลูกค้าสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ไม่จำกัดวงเงินสินเชื่อ

– ปรับลดภาระค่างวดต่อเดือน และขยายเวลาชำระค่างวด

  1. ลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

ลูกค้าของธนาคารฯ สามารถเลือกเข้าร่วมมาตรการใดมาตรการหนึ่งดังต่อไปนี้
– ผ่อนปรนการชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือ
– ผ่อนปรนการชำระเงินต้นเป็นระยะเวลา 3 เดือน และปรับอัตราดอกเบี้ยตามความเหมาะสม หรือ
– ปรับลดยอดผ่อนชำระค่างวด และขยายระยะเวลาชำระหนี้

 

          ธนาคารกรุงไทย

  1. สินเชื่อบุคคล ประเภทวงเงินหมุนเวียน

– เปลี่ยนเป็นวงเงินกู้แบบกำหนดระยะเวลา (Term Loan) 48 งวด หรือขยายระยะเวลาได้ตามความสามารถในการชำระหนี้

  1. สินเชื่อบุคคล แบบกำหนดระยะเวลา

– ลดการผ่อนชำระลง 30% จากการผ่อนชำระตามสัญญากู้เดิม นานสูงสุด 6 เดือน

  1. สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน

– พักชำระเงินต้น (ชำระเฉพาะดอกเบี้ย) นาน 3 เดือน หรือลดค่างวดโดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้

          หากใครสนใจสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากธนาคารที่ท่านได้ทำสัญญาเอาไว้ได้เลยนะคะ เราจะเป็นกำลังใจให้กันและผ่านเหตุการณ์นี้ไปได้ด้วยดีคะ

          ติดต่อสอบถาม ระบบ ติดตามหนี้สิน Volare Debt Collection System สามารถติดต่อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ GeniusSoft 02-064-7433

About
Our Partners
Global Team
Our Locations
Case Studies
Careers
Find a Job
Benfits & Welfare
Career Advice

Services

IT Consultant Service
IT Recruiting Service
IT Professional Service
IT System Integratorservice
IT Software Testing Service
IT Training Service
IT Software Solutions & Development